ตั้งชื่อหัวข้อได้ท้าทายและน่าสนใจมากครับ เหตุที่กล่าวแบบนี้ก็เพราะว่า หลายคนที่เป็นคนทำงานประจำเมื่อทำไปได้ซักระยะหนึ่งมักจะเกิดอาการท้อแท้เบื่อหน่าย เลยพลอยทำให้ไม่อยากทำงานหรือที่เรียกว่าหมดไฟในการทำงานนั่นเองซึ่งอาการแบบนี้ จะเกิดขึ้นก็กับบุคคลที่ทำงานมาซักระยะหนึ่งประมาณ 2 –3 ปี หรือ เกิดขึ้นกับคนที่งานน้อยๆหรือไม่ค่อยมีอะไรให้ทำ หรือเป็นช่วงว่างๆ ของปี ก็จะรู้สึกว่าเบื่อว่ะไม่รู้จะทำอะไรเมื่อไหร่จะเลิกงานซะที เป็นต้น
ผมเองก็เกิดความรู้สึกแบบนั้นเช่นเดียวกัน พยายามอยู่หลายครั้งว่าทำอย่างไรดีหนอ จึงจะ ไม่ให้ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นกับเราอีก อีกทางหนึ่งก็ ลองสังเกตความรู้สึกว่าระหว่างเราทำอะไรอยู่ความรู้สึกกำลังเป็นไปในทิศทางไหนเบื่อมากขึ้นหรือว่าเริ่มรู้สึกดีขึ้น รู้สึกดีขึ้นเพราะอะไร เพราะฉะนั้น คำแนะนำของผมในฐานะที่มีความรู้สึกนี้กับเขาด้วยก็เลยแนะนำว่าถ้าอย่างนั้นลองนั่งทบทวนดูว่าวันนี้เรามีงานอะไรที่ต้องทำบ้าง เอาไม่ต้องด่วนและไม่สำคัญด้วย เขียนทั้งหมดเลยนะครับ ถ้ามีเรื่องให้เขียน ก็แสดงว่าความรู้สึกที่ผ่านมา เป็นความรู้สึกขี้เกียจหรือไม่อยากทำสรุปคือมีงานแต่ไม่อยากทำ ที่เรียกว่าขาดแรงจูงใจในการทำงานนั่นแหละ อาจด้วยงานไม่ด่วน ไม่เร่งทำเมื่อไหร่ก็ได้ ก็เลยไม่รีบ เพราะฉะนั้นเมื่อได้ งานที่ต้องทำแล้ว ให้เลือกงานที่เราชอบหรืออยากทำมากที่สุด (เพราะงานทุกงานไม่ด่วนอยู่แล้วถ้าด่วนเราคงรีบแต่แรก) เหตุผลเพราะว่างานที่เราอยากทำมันจะทำให้เรามีแรงจูงใจเบื้องต้นไงล่ะครับ หรือถ้าไม่อยากทำอันไหนเลยก็ให้เลือกงานที่ง่ายที่สุดก็ได้ ขั้นที่สองคือลงมือทำมัน ไปตามขั้นตอนให้เสร็จ (ย้ำนะครับว่าทำให้เสร็จเพราะทำทำไม่สำเสร็จมันจะเกิดความรู้สึกว่าทำไม่ได้อีกแล้ว ไม่มีความภาคภูมิใจเกิดขึ้น ไม่มีแรงกระตุ้นด้วย)
เมื่องานชิ้นแรกสำเร็จแล้ว สิ่งที่ได้เพิ่มเติมเข้ามาคือ ความภาคภูมิใจ มันจะเป็นแรงขับเล็กๆ ให้เรา อยากที่จะทำงานชิ้นต่อไป แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่สำคัญ ที่สุดในหัวข้อนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดระหว่างนี้คือ การสังเกตใจ หรือเฝ้าดูใจของเราเองว่ามันเป็นอย่างไร กระหยิ่มยิ้มย่อง หรือว่า เมื่อทำเสร็จแล้วรู้สึกเฉยๆ หรือว่า ยังห่อเหี่ยวเหมือนเดิม ลองสังเกตความรู้สึกตัวเองซักระยะหนึ่ง ประมาณ 2 นาที ว่า มันอยู่กับเรานานไหม หรือว่ามันอยู่กับเราแค่แป๊ปเดียวไอ้ความรู้สึกนั้นน่ะ ครับ ถ้าเราจับความรู้สึกเราได้ ขั้นที่ตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งคือเราจะรู้ว่าเมื่อ เรารู้สึกแบบนี้ (เบื่อหน่ายในการทำงาน) เราจะต้องทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นตัวเองให้ความรู้สึกเบื่อนั้นหายไป อีกทางหนึ่งเราก็ทราบเช่นเดียวกันว่า ถ้ารู้สึกแบบนี้ ความรู้สึกไหนที่มันไม่ช่วยทำให้เราดีขึ้น ทำบ่อยๆ เรา ร่างกายจะเป็นไปโดยอัตโนมัติคือ เมื่อรู้สึกไม่ดี ก็ให้ทดแทนด้วยการกระทำที่เราทำแล้วมันทดแทนสิ่งไม่ดี (ขี้เกียจ ไม่อยากทำได้) เราก็จะไม่รู้สึกว่าเบื่อท้อแท้ไม่อยากทำ วิธีการนี้เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ วิธีการ ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละคนครับ
อีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวโยงกันมาทีจะทำให้เรารู้สึกว่างานที่เราทำมันมีคุณค่ามากน้อยขนาดไหนก็คือ การรู้ว่าเราทำอะไร และ ใครบ้างที่ได้รับประโยชน์จากการทำงานของเรา เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้วเรามีแรงบันดาลใจในการทำงาน เพราะมีหลายคนที่รอเราอยู่ ถ้าไม่มีเรา ไม่มีงานที่เราทำนี้หลายคนคงไม่รับความเดือดร้อน เพราะฉะนั้นเราเป็นส่วนหนึ่งของหลายคน จงตั้งใจทำงาน และถ้ารู้สึกว่าหดหู่หมดกำลังใจ ก็ให้กลับไปดูวิธีการที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ครับ …..ลองดูนะครับเพื่อว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย 26/1/54